อนุกรม ก.พ. คือหนึ่งในเรื่องที่ออกสอบในวิชาความรู้ความสามารถทั่วไป ซึ่งหลายๆคนที่เห็นข้อสอบอนุกรม ก็จะรู้สึกว่ามันยากแน่ๆ เพราะเราอาจจะยังไม่เข้าใจถึงหลักการของอนุกรม ไม่รู้ว่ามันคืออะไรหาคำตอบยังไง หรืออาจจะห่างหายไปกับมันไม่คุ้นเคยกับโจทย์ในรูปแบบต่างๆ ซึ่งจริงๆแล้วหลักการของมันไม่ยากเลย คือ ต้องรู้ถึงความสัมพันธ์ของตัวเลข เพื่อที่จะนำไปสู่การหาคำตอบ ซึ่ง Siamexams ได้สรุปและรวบรวมข้อสอบมาให้เพื่อนๆพี่ๆได้มาฝึกกันแล้ว ถ้าพร้อมแล้ว ไปลุยกันเลย!
อนุกรม คืออะไร?
อนุกรม คือ ชุดของตัวเลขที่จัดเรียงกันภายใต้กฎเกณฑ์ที่แน่นอนอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง ประกอบกัน ดังนั้นการทำข้อสอบโจทย์อนุกรม เพื่อนๆพี่ๆจะต้องพยายามหาหลักเกณฑ์การเปลี่ยนแปลงของชุดตัวเลข ต่างๆ แล้วนํา หลักเกณฑ์ที่ค้นพบไปพิจารณาหาคําตอบ โดยรูปแบบของอนุกรมที่ออกในข้อสอบอนุกรม ก.พ. จะมีอยู่ 2 แบบ คือ
- อนุกรมเชิงเดียว
- อนุกรมเชิงซ้อน
อนุกรมเชิงเดี่ยว
อนุกรมเชิงเดี่ยว คือ ชุดตัวเลขที่เป็นอนุกรมเพียงชุดเดียว จะสังเกตได้ว่าค่าของของตัวเลขซึ่งจะมีทั้งเพิ่มขึ้นและลดลงอย่างเป็นระบบ ซึ่งอนุกรมเชิงเดี่ยวนั้นมีอยู่หลากหลายประเภท แต่ประเภทที่เราจะเจอในข้อสอบก.พ. จะมีอยู่ 5 ประเภทได้แก่
- อนุกรมการบวก
- อนุกรมการลบ
- อนุกรมการคูณ
- อนุกรมการหาร
- อนุกรมยกกำลัง
1. อนุกรมการบวก
วิธีการสังเกต อนุกรมการบวก คือ ตัวเลขที่เพิ่มขึ้นทีละน้อยอย่างเป็นระบบ ถ้าเราเห็นโจทย์ประมาณนี้ให้เดาว่าเป็นการบวกหรือสะสมค่า
จะเห็นว่าข้อนี้ตัวเลขมีความสัมพันธ์กันแบบเพิ่มขึ้นทีละ 4 อย่างต่อเนื่อง
ดังนั้นคำตอบ คือ 19 + 4 = 23
ข้อนี้ ค่าของตัวเลขมีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ไม่ได้เป็นการบวกด้วยค่าคงที่แล้ว แต่จะสังเกตได้ว่าค่าที่ถูกบวกเพิ่มเข้าไป จะมีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทีละ 1 คือ +2, +3, +4, +5 ดังนั้นตัวเลขตัวต่อไปต้องมีค่าเพิ่มขึ้น +6 จากตัวเลขก่อนหน้า
ดังนั้นคำตอบ คือ 21 + 6 = 27
ข้อนี้ ค่าของตัวเลขมีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นกัน แต่สังเกตได้ว่า ความสัมพันธ์ของตัวเลขจะอยู่ในรูปแบบดังนี้ ค่าของตัวเลขใดๆ เกิดจากผลบวกของตัวเลข 2 ลำดับก่อนหน้า เช่น 11 ซึ่งเป็นตัวเลขลำดับที่ 3 เกิดจาก 3 + 8 (ตัวเลขลำดับที่ 1 บวกกับตัวเลขลำดับที่ 2) เป็นต้น ตัวเลขที่หายไปจึงต้องเกิดจาก 30 + 49 ดังนั้นคำตอบ คือ 79
2. อนุกรมการลบ
วิธีการสังเกต อนุกรมการลบ คือ ตัวเลขที่ลดลงทีละน้อยอย่างเป็นระบบ ถ้าเราเห็นโจทย์ประมาณนี้ให้เดาว่าเป็นการลบ
สังเกตว่าตัวเลขแต่ละตัวจะค่อยๆ ลดลงอย่างต่อเนื่อง เมื่อลองหาค่าต่างดูจะพบว่าตัวเลขทุกตัวจะถูกลบด้วยค่าคงที่ค่าเดิมอย่างสม่ำเสมอ ในข้อนี้ค่าของตัวเลขจะลดลงทีละ 7
ดังนั้นคำตอบ คือ 31 – 7 = 24
3. อนุกรมการคูณ
วิธีการสังเกต อนุกรมการบวก คือ ตัวเลขที่เพิ่มขึ้นแบบรวดเร็วอย่างเป็นระบบ ถ้าเราเห็นโจทย์ประมาณนี้ให้เดาว่าเป็นการคูณหรือยกกำลัง
จากโจทย์ ค่าของตัวเลขมีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและก้าวกระโดดอย่างรวดเร็วแบบทวีคูณ และสังเกตได้ว่าค่าที่เป็นตัวคูณ จะมีการลดลงอย่างต่อเนื่องทีละ 2 คือ x9, x7, x5 ดังนั้นตัวเลขตัวต่อไปต้องมีค่าทวีคูณจากเดิม x3
ดังนั้นคำตอบ คือ 1,175 x 3 = 3,525
4. อนุกรมการหาร
วิธีการสังเกต อนุกรมการลบ คือ ตัวเลขที่ลดลงแบบรวดเร็วอย่างเป็นระบบ ถ้าเราเห็นโจทย์ประมาณนี้ให้เดาว่าเป็นการหาร
จากโจทย์ ค่าของตัวเลขมีการลดลงอย่างรวดเร็ว โดยเป็นการลดลงแบบถูกหารด้วยค่าคงที่ คือ 2
ดังนั้นคำตอบ คือ 250 ÷ 2 = 125
5. อนุกรมยกกำลัง
วิธีการสังเกต อนุกรมการบวก คือ ตัวเลขที่เพิ่มขึ้นแบบรวดเร็วอย่างเป็นระบบ ถ้าเราเห็นโจทย์ประมาณนี้ให้เดาว่าเป็นการคูณหรือยกกำลัง
อนุกรมเชิงซ้อน
อนุกรมเชิงซ้อน คือ ชุดตัวเลขที่เป็นอนุกรมเพียงชุดเดียว จะสังเกตได้ว่าค่าของของตัวเลขซึ่งจะมีทั้งเพิ่มขึ้นและลดลงอย่างเป็นระบบ ซึ่งจะมีหลักการคิดคล้ายๆกับ อนุกรมเชิงเดียว แต่จะมีข้อสังเกตที่แตกต่างกันคือ โจทย์จะมีชุดตัวแรกที่ความยาวและจำนวนมากกว่า 6 ตัวขึ้นไป ซึ่งอนุกรมเชิงซ้อน ที่เราจะเจอในข้อสอบก.พ.จะมี อนุกรมเชิงซ้อน 1 ชุด และ อนุกรมเชิงซ้อน 2 ชุด
6 เทคนิคในการนำไปใช้ในห้องสอบ
- ถ้าเห็นโจทย์ตัวเลขที่เพิ่มขึ้นทีละน้อยอย่างเป็นระบบ ให้ลองเดาว่าเป็นบวกหรือสะสมค่า
- ถ้าเห็นโจทย์ตัวเลขที่ลดลงทีละน้อยอย่างเป็นระบบ ให้ลองเดาว่าเป็นลบ
- ถ้าเห็นโจทย์ตัวเลขที่เพิ่มขึ้นแบบรวดเร็วอย่างเป็นระบบ ให้ลองเดาว่าเป็นคูณหรือยกกำลัง
- ถ้าเห็นโจทย์ตัวเลขที่ลดลงแบบรวดเร็วอย่างเป็นระบบ ให้ลองเดาว่าเป็นการหาร
- อนุกรมเชิงซ้อนตัวเลขมักจะมีความยาวหลายหลายจำนวนและมีมากกว่า 6 ตัวขึ้นไป
- ถ้าโจทย์เป็นเศษส่วน ต้องทำให้เศษอยู่ในรูปแบบเดียวกันหรือทำให้เท่ากัน เช่น เศษส่วนจำนวนเต็ม, จำนวนคละ, ทศนิยม เป็นต้น
สังเกตมั้ยว่า ข้อสอบอนุกรม ก.พ. นั้นไม่ยากเลย แถมยังมีหลักการคิดที่ตายตัวอีกด้วย แต่อย่าลืมฝึกฝนให้เกิดความชำนาญ ซึ่งมันจะช่วยประหยัดว่าในห้องสอบให้กับเราอีกด้วย ดังนั้นเพื่อนๆพี่ๆสามารถไปฝึกทำข้อสอบอนุกรมได้ที่…แนวข้อสอบ ก.พ. วิชาคณิตศาสตร์